การขายฝาก และ ข้อควรระวังในการทำขายฝาก - จำนองบ้าน จำนองที่ดิน ขายฝากที่ดิน

การขายฝาก (Sale with Right to Redemption) คืออะไร?

“เป็นชื่อสัญญาซื้อขายรูปแบบหนึ่ง

ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นจะโอนเป็นของผู้ซื้อ

โดยที่ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

แต่ถ้าสิ้นสุดระยะเวลาสัญญาแล้ว หากไม่ไปไถ่คืน หรือต่ออายุสัญญา

ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากโดยสมบูรณ์”


การทำสัญญาขายฝาก เป็นการทำสัญญากู้ยืมเงินที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย อนุมัติง่าย ไม่ดู Statement ไม่เช็คแบล็คลิสต์ ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร และได้วงเงินสูงกว่าจำนองค่อนข้างมาก


การทำสัญญาสามารถขยายระยะเวลาในสัญญาได้ตามที่ตกลงกัน โดยสูงสุดจะสามารถต่อสัญญาได้ไม่เกิน 10 ปี

การทำสัญญาขายฝาก ต่อสัญญา หรือไถ่ถอน จะต้องทำที่สำนักงานที่ดิน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น

โดยอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถขายฝากได้ เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโด อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ

 

ขั้นตอนการทำขายฝาก กับ Winner Loans

ขั้นตอนที่ 1 ส่งข้อมูลรายละเอียดทรัพย์ที่ต้องการขายฝาก

ด้านหน้า-หลังโฉนด รูปถ่ายทรัพย์ วงเงินที่ต้องการ ชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ โดยสมัครขายฝากออนไลน์ ติดต่อทาง Line@winnerloans หรือ ทางเบอร์ติดต่อ 061-949-8888

 

ขั้นตอนที่ 2 ทาง Winner Loans จะแจ้งอนุมัติวงเงินเบื้องต้น เอกสารที่ใช้

และถ้าคุณลูกค้าเอกสารพร้อม และคอนเฟิร์ม สามารถแจ้งวันที่ต้องการใช้เงิน เพื่อนัดทำธุรกรรม

 

ขั้นตอนที่ 3 นัดดูทรัพย์ และทำการจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน

เพื่อความสะดวก และประหยัดเวลาคุณลูกค้า ทางเราสามารถนัดสองขั้นตอนนี้ได้ในวันเดียวกัน

 

ขั้นตอนที่ 4 รับเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คทันทีหลังทำสัญญาที่กรมที่ดินเรียบร้อย

 

คำถามที่พบบ่อย (Q&A)

Q :: วงเงินในการขายฝากเป็นอย่างไร?

A :: โดยปกติทาง Winner Loans จะอนุมัติยอดขายฝากที่ 50-60% ของราคาตลาด หรือราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับทำเล สภาพคล่อง และราคาตลาด

 

Q :: ดอกเบี้ยขายฝากบ้าน ขายฝากที่ดิน ขายฝากคอนโด คิดอย่างไร?

A :: ทาง Winner Loans เราคิดผลตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี

 

Q :: กรณีชำระดอกเบี้ยล่าช้ามีค่าปรับไหม?

A :: เราไม่มีค่าปรับใดๆ และไม่มีค่าทวงถาม

 

Q :: ถ้ากรณีทำธุรกิจติดขัด ชำระดอกเบี้ยไม่ได้จะโดนยึดทรัพย์ไหม?

A :: การขายฝาก ถ้าผู้ขายฝากมิได้ต่อสัญญาหรือไถ่ถอนในระยะเวลาที่ตกลงกัน กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ในการดำเนินการของ Winner Loans เรามีนโยบายไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า หากลูกค้าประสบปัญหา เรายินดีปรึกษาหาทางออกร่วมกัน

 

Q :: ค่าธรรมเนียมในการขายฝากเท่าไร?

A :: การขายฝากทางกรมที่ดินคิดค่าธรรมเนียมใกล้เคียงการซื้อ-ขายจริง และในส่วนของ Winner Loans เราคิดค่าดำเนินการ 3.5% ของวงเงินกู้ หรือ 5% กรณีวงเงินต่ำกว่า 600,000 บาท

 

Q :: ลดต้นลดดอกได้ไหม?

A :: การขายฝากกับ Winner Loans ทางลูกค้าสามารถลดต้นลดดอกได้ตลอดอายุสัญญา โดยถ้าหลังจากลูกค้าชำระดอกเบี้ยรายเดือนแล้ว มีความประสงค์จะชำระเงินต้นบางส่วน ก็สามารถทำได้ ดอกเบี้ยเดือนถัดไปจะลดลงทันที โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นส่วนที่เหลือ

เช่น คุณลูกค้าขายฝากที่ดิน 800,000 บาท ชำระดอกเบี้ยเดือนละ 10,000 บาท บางเดือนคุณลูกค้าชำระดอกเบี้ย 10,000 บาท และต้องการชำระเงินต้นอีก 400,000 บาท หลังจากลูกค้าชำระแล้ว เงินต้นจะคงเหลือ 4 แสนบาท และเดือนถัดไปจะชำระดอกเบี้ยเพียง 5,000 บาทเป็นต้น

 

Q :: การนัดไถ่ถอน และค่าธรรมเนียมไถ่ถอนเป็นอย่างไร?

A :: ทางลูกค้าสามารถนัดไถ่ถอนได้ตามต้องการ และค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนขายฝากกรมที่ดินคิดค่าธรรมเนียมที่ประมาณ 0.9% ของราคาประเมินกรมที่ดิน

 

*********************************************************

ข้อควรระวังในการขายฝาก?

ก่อนทำสัญญา ควรคุยรายละเอียดสัญญาต่างๆ ได้แก่ วงเงิน การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า ค่าปากถุง หรือค่าดำเนินการ ระยะเวลาสัญญา การต่อสัญญา การชำระเงินต้นเพื่อลดดอกเบี้ย และวันทำสัญญา อย่างละเอียดให้เข้าใจตรงกัน


และเมื่อใกล้สิ้นอายุสัญญา ควรจะนัดไถ่ถอน หรือต่อสัญญาล่วงหน้าไว้ อย่าให้เลยอายุสัญญาเพราะกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก

 

ถ้าติดต่อผู้รับซื้อฝากไม่ได้ทำอย่างไร?

ผู้รับซื้อฝากบางรายอาจจะเป็นนายทุนที่แย่ หรือมีเจตนาตุกติก เช่น เมื่อครบสัญญาจะไถ่ถอนแล้วหนีหาย หรือติดต่อไม่ได้ กรณีนี้ผู้ขายฝากไม่ต้องกังวล เพราะผู้ขายฝากสามารถนำเงินไปวางไถ่ถอนได้ที่สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์ของทรัพย์ที่ขายฝากกลับมาเป็นของผู้ขายฝากทันที

 

โดยสำนักงานวางทรัพย์สามารถติดต่อได้ที่

  • สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร โทร. 02-8875142–4
  • ส่วนภูมิภาค ติดต่อที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือประจำศาล
  • ส่วนภูมิภาค ติดต่อที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือประจำศาล

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

>